เก็บรักษาวัตถุดิบในตู้เย็นอย่างไร ไม่ให้เสียรสชาติ

            ไม่ต้องเป็นคนทำอาหารระดับมาสเตอร์เชฟ ก็รู้ว่ารสชาติอาหารที่ดีมีพื้นฐานมาจากวัตถุดิบที่ดี แต่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปคงเป็นเรื่องยากถ้าจะซื้อของสดมาปรุงอาหารได้ทันทีในทุก ๆ มื้อ การเก็บรักษาวัตถุดิบให้อยู่ได้นานโดยที่ยังคงความสดใหม่ไว้จึงเป็นกุญแจสำคัญของรสชาติออริจินัลในวัตถุดิบ ก่อนที่จะถูกนำไปปรุงเป็นอาหารจานอร่อย ไม่ว่าจะเป็นการต้ม นึ่ง ทอด ย่าง และอีกสารพัดวิธีการปรุงอาหารเพื่อให้คุณหรือครอบครัวร่วมโต๊ะกันทานอาหารอย่างมีความสุข
            โดยวัตถุดิบหลักของการทำอาหารที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือ 3 ทหารเสือแห่งวงการ ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผักผลไม้ นับว่าเมนูอาหารส่วนมากจะต้องมีส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาเพื่อดึงรสชาติและสารอาหารอันเยี่ยมยอดให้ออกมาสู่แต่ละจานได้
            แต่การจะรักษาความสดของวัตถุดิบเหล่านี้ไว้ได้นั้น คงต้องอาศัยตัวช่วยอย่างตู้เย็น และต้องเป็นตู้เย็นที่ดีมีคุณภาพ เช่น ตู้เย็น Candy Hi-End Multi-Glass Door Dynamic Inverter รุ่น RTD4CRFD1OL ที่มีขนาด 16.1 คิว สามารถจุได้ถึง 456 ลิตร! ถึงจะเป็นตู้เย็นขนาดใหญ่แต่ประหยัดพลังงานกว่าเดิม 24% ด้วยระบบ Dynamic Inverter ในด้านการใช้งาน ควบคุมอุณภูมิได้ผ่านระบบดิจิทัลที่หน้าตู้ ภายในสามารถกระจายความเย็นทั่วถึงทุกวัตถุดิบด้วยเทคโนโลยี Vertical Air Duct & Multi Airflow 360 แถมยังควบคุมอุณหภูมิแยกอิสระระหว่างช่องแช่เย็นกับช่องแช่แข็งด้วย รวมไปถึงเทคโนโลยีกำจัดแบคทีเรีย 99.99% และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ( T.ABT ) จะมองหาวัตถุดิบก็สะดวกสบายด้วยไฟ LED สีขาว ชั้นวางเป็นแบบ Tempered Glass รองรับน้ำหนักรวมถึง 120 กิโลกรัม อีกทั้งมีฟังก์ชันเตือนด้วยเสียงเมื่อเปิดประตูทิ้งไว้นานเกินไป เมื่อมีตู้เย็นที่ครบเครื่องขนาดนี้ ก็วางใจได้ว่าวัตถุดิบที่จะนำเข้าแช่เย็นเพื่อเก็บรักษาต้องคงความสดใหม่ไปถึงทุกชิ้นแน่นอน

มาถึงวิธีการเตรียมวัตถุดิบทั้ง 3 ประเภท ก่อนนำไปแช่ในตู้เย็น

  1. เนื้อสัตว์ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว สิ่งที่ต้องทำก่อนนำไปแช่เย็นเพื่อเก็บรักษาคือ การล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย ซับให้แห้ง ตัดแต่งแบ่งใส่ถุงซิปล็อคหรือภาชนะที่มีฝาปิดแน่นหนา จัดเตรียมสัดส่วนให้พอดีสำหรับนำมาทำอาหารในแต่ละมื้อ เนื่องจากการนำเนื้อสัตว์ออกมาเตรียมทำอาหารแล้วครั้งหนึ่ง หากนำกลับไปแช่เย็นอีกครั้งนั้นมีโอกาสจะทำให้วัตถุดิบเสียเร็วยิ่งขึ้น นอกจากจะปรุงให้สุกก่อนแล้วจึงนำเข้าตู้เย็น อีกทั้งเมื่อแยกภาชนะเป็นสัดส่วน แล้ว ก็ยิ่งง่ายต่อการหยิบออกมาปรุงอาหารได้ทันใจ (สำหรับถุงซิปล็อค ถ้ากดให้แบนเป็นแผ่นจะสามารถจัดวางได้อย่างประหยัดพื้นที่อีกด้วย)
    ช่องในการจัดเก็บ : ช่องแช่แข็ง (ช่องฟรีซ) อุณหภูมิต่ำกว่า 0°C
    Trick : สำหรับเนื้อที่ผ่านการหมักแล้วต้องการแช่เย็นเพื่อให้รสชาติของซอสและเครื่องปรุงซึมเข้าเนื้อยิ่งขึ้นก่อนจะนำมาปรุงอาหารในภายหลัง ให้ทำการเก็บแบบสุญญากาศ โดยนำเนื้อหมักใส่ในถุงซิปล็อคจากนั้นนำไปแช่ในน้ำเพื่อไล่อากาศ ค่อย ๆ บีบจนถึงปากถุงแล้วรูดซิปล็อคปิดให้สนิท
    เช็ดถุงให้แห้ง เท่านี้ก็นำไปเข้าตู้เย็นได้ทันที
  2. อาหารทะเล ใช้วิธีการจัดเก็บเช่นเดียวกันกับเนื้อสัตว์ โดยใส่ภาชนะที่ปิดสนิทหรือถุงซิปล็อค แต่มีส่วนรายละเอียดของการจัดเก็บเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ได้แก่
    กุ้ง ให้ตัดหนวดส่วนหัว ขา และปลายหางออกก่อน ล้างทำความสะอาด ซับให้แห้ง เสร็จแล้วจึงบรรจุลงภาชนะ
    ปลาหมึก ให้ตัดส่วนตาทิ้ง ล้างทำความสะอาด ซับให้แห้ง จะหั่นเป็นส่วน ๆ หรือเก็บทั้งตัวก็ได้ เสร็จแล้วจึงบรรจุลงภาชนะ
    ปลา ให้นำเครื่องในออก ล้างทำความสะอาด ซับให้แห้ง จะหั่นเป็นส่วน ๆ หรือเก็บทั้งตัวก็ได้ เสร็จแล้วจึงบรรจุลงภาชนะ
    ช่องในการจัดเก็บ : ช่องแช่แข็ง (ช่องฟรีซ) อุณหภูมิต่ำกว่า 0°C
    Trick : การละลายกุ้งที่แช่แข็งให้อร่อย เพิ่มความชุ่มฉ่ำในรสสัมผัส ให้ทำการละลายโดยแช่ในน้ำแล้วเติมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำกุ้งออกเมื่อละลายพอดี เพื่อไม่ให้ความเค็มซึมเข้าตัวกุ้งมากจนเกินไป
  3. ผักและผลไม้ เป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างมีรายละเอียดในการจัดเก็บมาก เนื่องจากผักและผลไม้แต่ละชนิดมีระยะเวลาและผลจากการแช่เย็นไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้ว ผักสดหรือ ผักสลัดต่าง ๆ ให้ทำการตัดรากออก ใช้พลาสติกสำหรับห่ออาหารห่อให้ทั่วเพื่อรักษาความชุ่มชื้น โดยยังไม่ต้องล้างขณะจัดเก็บ ให้ล้างเฉพาะเมื่อต้องการนำมาทำอาหาร เพราะการล้างผักก่อนแช่เย็นจะทำให้เน่าเสียเร็วขึ้น ส่วนผักประเภทที่สามารถหั่นแยกเก็บได้ ให้ใส่กล่องพลาสติกหรือถุงซิปล็อคแยกเก็บไว้ได้
    ช่องในการจัดเก็บ : ลิ้นชักแช่ผัก อุณหภูมิ 0°C – 2°C
    Trick : ผลไม้ที่ผ่านการบ่มหรือสุกแล้วไม่ควรเก็บร่วมกับผักสด เนื่องจากก๊าซเอทิลีนของผลไม้จะทำให้ผักที่อยู่ใกล้ ๆ เสียเร็วขึ้น จึงควรเก็บแยกภาชนะเป็นสัดส่วน และ ผักที่ไม่ควรนำมาแช่ตู้เย็น ได้แก่ มันฝรั่ง หอมใหญ่ กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ให้เก็บในที่แห้งไม่อับชื้นแทน

            เมื่อวัตถุดิบถูกจัดเก็บเป็นอย่างดีในตู้เย็นที่มีคุณภาพ การจะนำออกมาปรุงอาหารให้อร่อยก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะวัตถุดิบจะรักษาความสดใหม่ได้นานแน่นอน ไม่ว่าจะเอาไปผัด ต้ม นึ่ง ย่าง เมื่อไหร่ก็ได้ทั้งนั้น และถ้าพูดถึงการทำอาหารหลากหลายเมนูก็ต้องนึกไปถึงการใช้อุปกรณ์เครื่องครัวหลายสิ่งอัน คงจัดเตรียมกันวุ่นวายน่าดู แต่ถ้ามีหม้อไฟฟ้าอเนกประสงค์ Candy Multi Cooker รุ่น CTM-E024 เรื่องนี้ก็ยิ่งง่ายขึ้นไปอีก ด้วยฟังก์ชันนึ่งไอน้ำ ตุ๋น ย่าง สามารถใช้งานต่อเนื่องได้นานถึง 30 นาที ดีไซน์สวยงามด้วยวัสดุพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) เคลือบเงา แข็งแรงทนทาน ปลอดภัย ใช้ถาดแบบถอดได้นำมาทำความสะอาดง่าย จนต้องลืมเตาปิ้งย่างที่ต้องใช้แรงขัดหนัก ๆ ไปเลย
            ตู้เย็นที่สามารถจัดเก็บวัตถุดิบได้ดีคงความสดใหม่ได้เสมอจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบได้ยาวนาน และเมื่อนำมาปรุงอาหารด้วยหม้อไฟฟ้าอเนกประสงค์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในขั้นตอนการทำอาหาร เพียงเท่านี้จะกี่เมนูก็รังสรรค์ออกมาได้อย่างเต็มฝีมือเลย ( ครับเชฟ! )

 

สามารถช้อปสินค้า Candy ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

Lazada : https://rebrand.ly/laz-mkt

Shopee : https://rebrand.ly/focusbarter

JD CENTRAL : https://bit.ly/3Kz6mSq

 


 

Sources

1. การเก็บรักษาอาหาร ในตู้เย็นให้อยู่ได้นาน แบ่งใช้งานง่าย – my home (baanlaesuan.com)
2. UV Index ของแสงแดดเมืองไทยเสี่ยงแค่ไหนกับผิวไหม้แดด (samitivejhospi7 วิธี การจัดเก็บวัตถุดิบอาหาร ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน ทำร้านอาหารต้องอ่าน (moneywecan.com)
3. เก็บวัตถุดิบให้นานขึ้น ด้วยการกักตุนอาหารแค่ครั้งเดียว (mangozero.com)
4. รวมทริคการจัดตู้เย็น เก็บได้เยอะ ทานได้นาน – บ้านไอเดีย เว็บไซต์เพื่อบ้านคุณ (banidea.com)
5. 6 วิธีเก็บอาหารในตู้เย็นให้ถูกจุด แต่ละตำแหน่งควรแช่อะไรดี (kapook.com)