น้ำนมแม่ เก็บอย่างไรให้คุณค่ายังอยู่

      ใบหน้าละมุนดูอบอุ่นและสงบยามที่ทารกตัวน้อยดูดนมในอ้อมอก ย่อมให้ความพึงใจต่อผู้เป็นแม่อย่างปริ่มล้น อีกทั้งน้ำนมจากแม่ยังมอบคุณค่าทางสารอาหารและคุณประโยชน์หลายประการให้กับลูกน้อย คงเป็นเรื่องที่ดียิ่งหากคุณค่านั้นจะสามารถเก็บรักษาไว้ได้ยาวนาน เพื่อมอบให้แก่ลูกน้อยในช่วงเวลาที่คุณแม่ไม่สะดวกในการป้อนนมลูกได้โดยตรง

      ด้วยเหตุนี้ ในยุคปัจจุบันจึงพบว่าหลายครอบครัวที่เพิ่งให้กำเนิดทารกตัวน้อย นิยมปั๊มน้ำนมของคุณแม่แล้วฟรีซเก็บเอาไว้ในช่องแช่แข็งจนกลายเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากวิธีนี้ทำให้การใช้ชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่สะดวกสบายมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นวันที่คุณแม่มีธุระสำคัญหรือต้องเข้างานกะทันหัน ก็ยังวานให้คนรอบตัวช่วยป้อนนมลูกแทนได้จากนมที่ฟรีซไว้แล้ว หรือในช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการพักผ่อนก็สามารถแปะมือกับคุณพ่อให้เป็นคนดูแลและป้อนนมลูกแทนได้อีกด้วย

      


ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงหากต้องการเก็บรักษาน้ำนมให้คงคุณค่าเอาไว้ ก่อนจะนำไปฟรีซก็คือ

      1. อุปกรณ์ ควรทำให้อุปกรณ์สำหรับการปั๊มนมและจัดเก็บนั้นปลอดเชื้อหรือผ่านการฆ่าเชื้อมาเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนแบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในน้ำนมที่จะนำไปฟรีซ ป้องกันไม่ให้ส่งต่อสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้สู่ลูกน้อย รวมไปถึงขณะที่ปั๊มนมเสร็จเรียบร้อยก็ควรทำความสะอาดให้สม่ำเสมอ โดยการใช้น้ำร้อนผสมน้ำสบู่และล้างต่อด้วยน้ำสะอาด จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนการฆ่าเชื้อ ส่วนภาชนะในการจัดเก็บแนะนำให้ใช้ถุงเก็บน้ำนมที่ผลิตมาโดยเฉพาะจะเป็นการดีที่สุด ก่อนแช่เขียนกำกับวันที่นำเข้าแช่ไว้บนถุงเป็นการเตือนความจำก็จะช่วยได้มากเมื่อถึงเวลานำออกมาใช้เป็นลำดับ

      2. อุณหภูมิ เริ่มจากอุณหภูมิสำหรับการจัดเก็บซึ่งมีผลต่อระยะเวลาที่สามารถจัดเก็บได้ (โดยประมาณ) ได้แก่

      27-32 °C  เก็บได้ 3-4 ชั่วโมง

      16-26 °C  เก็บได้ 4-8 ชั่วโมง

          15 °C  เก็บได้ 24 ชั่วโมง

         0-4 °C  เก็บได้ 3-8 วัน

           -4 °C  เก็บได้ 2 สัปดาห์ (แช่ในช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว)

           -4 °C  เก็บได้ 6-12 เดือน (แช่ในช่องแช่แข็งเย็นจัดของตู้เย็นชนิดพิเศษ)

      โดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอุณหภูมิให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ต้องการใช้งานหรือให้เหมาะกับลักษณะตู้เย็นภายในบ้าน

      ในอีกด้านหนึ่งคืออุณหภูมิของการละลายเพื่อนำมาป้อนลูกน้อยก็สำคัญเช่นกัน โดยควรเลือกนำนมที่มีอายุการแช่นานที่สุดออกมาก่อน เรียกว่าเข้าก่อน ออกก่อน และต้องนำมาละลายก่อนวันที่จะใช้ประมาณ 1 คืน (12 ชั่วโมง) ด้วยการย้ายมาแช่ในช่องใต้ช่องแช่เย็นเพื่อให้น้ำนมละลายเอง ก่อนจะนำมาไว้ในอุณหภูมิห้องให้เพื่อให้นมหายเย็น อาจใช้วิธีการถือขวดหรือถุงบรรจุน้ำนมไว้จากนั้นเปิดให้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 10 นาที แต่ถ้าอยากได้นมอุ่น ๆ ให้แช่ถุงลงในน้ำอุ่น หากลูกน้อยชอบนมเย็นหน่อย ๆ ก็ทำการป้อนได้เลย

      ข้อควรระวังคือ ห้ามนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด จะทำให้น้ำนมสูญเสียสารอาหารและภูมิคุ้มกันบางอย่างไป และน้ำนมที่ละลายแล้วไม่ควรนำมาอุ่นหรือนำกลับไปฟรีซอีกครั้ง

      3. ตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง อุณหภูมิในการแช่แข็งที่คงที่มีผลอย่างมากในการเก็บรักษาคุณค่าทางสารอาหารของน้ำนม และเพื่อไม่ให้สารอาหารหรือวิตามินส่วนใดเสียไปและเก็บน้ำนมได้อย่างยาวนาน จึงต้องมีตู้สำหรับแช่เย็นที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับเป็นตัวช่วยให้คุณแม่เก็บรักษาน้ำนมได้สะดวกและวางใจเรื่องการรักษาอุณหภูมิอย่าง Candy Chest Freezer (รุ่น CCF-105 หรือ CCF-205) ตู้แช่แข็งฝาทึบที่สามารถทำความเย็นได้ตั้งแต่ -10°c ถึง -25°c มาพร้อมกับระบบควบคุมอุณหภูมิแบบ Mechanical Control มั่นใจได้ว่าน้ำนมจะถูกเก็บความเย็นได้รวดเร็วและยาวนานจากผนังภายในที่เป็นวัสดุ Aluminum เสริมฉนวนกันความร้อน โฟมความหนาแน่นสูง ช่วยประหยัดพลังงาน ทั้งขอบตู้ยังไร้รอยต่อช่วยป้องกันความเย็นไม่ให้รั่วไหล เก็บความเย็นได้อย่างดีเยี่ยม เพิ่มเติมด้วยฟีเจอร์

  •   ไฟแสดงสถานะการทำงาน
  •   ไฟ LED ส่องสว่างทั่วภายในตู้
  •   กุญแจล็อกเพิ่มความปลอดภัย พร้อมล้อเลื่อนเพื่อความสะดวกสบายในการเคลื่อนที่
  •   ระบบละลายน้ำแข็งแบบ Manual

      เมื่อเริ่มต้นใส่ใจกับปัจจัยเหล่านี้ การฟรีซน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกน้อยโดยที่ยังสามารถเก็บรักษาทั้งคุณค่าทางโภชนาการและคุณค่าทางจิตใจเอาไว้ได้ และแม้ว่าคุณแม่จะพบเจอสถานการณ์ที่ไม่สะดวกป้อนนมลูกโดยตรง ก็ยังคงส่งมอบความห่วงใยและสารอาหารที่ลูกต้องการได้อย่างครบถ้วนผ่านสายใยจากน้ำนมแม่ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาพร้อมกับความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจที่ได้รับความรักความใส่ใจมาอย่างเต็มที่

สามารถช้อปสินค้า Candy ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

Lazada : https://rebrand.ly/laz-mkt

Shopee : https://rebrand.ly/focusbarter

JD CENTRAL : https://bit.ly/3Kz6mSq

 


 

Sources

1. วิธีการเก็บรักษานมแม่ – โรงพยาบาลธนบุรี (thonburihospital.com)
2. วิธีเก็บนมแม่ เก็บอย่างไรให้ได้คุณภาพยาวนานที่สุด (dumex.co.th)

3. วิธีการเก็บนมแม่ นมสต็อก แช่เย็นแช่แข็งที่อุณหภูมิกี่องศาถึงจะยังคงคุณค่าทางอาหาร (rakluke.com)

4. 3 วิธีละลายน้ำนมแม่ แช่แข็ง สำหรับคุณแม่มือใหม่ – www.babygiftretail.com

5. Huggies Thailand – วิธีเก็บนมแม่ ให้อยู่ได้นานที่สุด